ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541บัญญัติ ไว้ว่า ผู้บริโภคนั้นหมายถึง ผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้ที่ได้รับการจูงใจ หรือ การชักชวนจากผู้ประกอบกิจการด้านธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้า ทั้งยังหมายถึง ผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้รับบริการจากผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจโดยสุจริต แม้จะยังไม่ได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
และในมาตรานี้ ยังให้คำนิยามของ ผู้ประกอบกิจการด้านธุรกิจ ว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อนำไปขายผู้สั่ง หรือ นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำการค้าขาย หรือ ผู้ซื้อเพื่อนำสิ้นค้าขายต่อ หรือเป็นผู้ให้บริการ และทั้งยังรวมถึงผู้ประกอบกิจการด้านโฆษณา
ความหมายของ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของผู้คนในทุกๆสังคม โดยจะเกี่ยวข้องกการใช้บริการ และ การใช้สินค้า เช่น มนุษย์มีความต้องการอาหาร ยารักษาโรค มนุษย์จำเป็นต้องใช้บริการรถโดยสาร รถประจำทาง เครื่องบิน เป็นต้น เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อสื่อสาร การใช้เอทีเอ็ม ดังนั้น การใช้บริการต่างๆ หรือ การบริโภค จำเป็นต้องได้มีคุณภาพอย่างถูกต้อง และ ได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาเอาไว้ จึงทำให้ รัฐบาลซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้คุ้มครองดูแลประชาชน เมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือความเสียหายจากการใช้สินค้า และ บริการ จะต้องรีบเข้ามาคุ้มครอง และ แก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างทันท่วงทีให้แก่ประชาชน
นอกจากนี้ ยังมี ศ.ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ยังให้ความหมายของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคว่า คือกฎหมายหนึ่งที่มุ่งที่จะคุ้มครองแก่ประโยชน์ของผู้บริโภค กฎหมายใดก็ตามที่มีส่วนคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบกิจการธุรกิจซึ้งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีหลากหลายฉบับ ไม่เพียงแค่มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคเพียงแค่ฉบับเดียวเท่านั้น[1] หากแต่กฎหมายในแต่ละฉบับจะมีอำนาจหน้าที่ในการมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีหน่วยงานราชการซึ่งทำหน้าที่บังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม ซึ่งหน่วยราชการดังที่กล่าวมาจะกระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคโดยตรง
1.1 สิทธิจะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำติชมคุณภาพที่ถูกต้องในสินค้าหรือบริการ
1.2 สิทธิในการได้อิสระในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ
1.3 สิทธิในการได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
1.4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากสัญญาหรือการทำสัญญา
1.5 สิทธิที่จากการที่จะได้รับการพิจารณาและเยียวยาความเสียหาย
2. กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคมีหลักเกณฑ์และหน้าที่
ส่วน หน้าที่ สามารถทำได้โดยการเข้าไปตรวจสอบหรือควบคุมกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการด้านธุรกิจที่ผลิตทำการสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม และความปลอดภัยต่อการเลือกใช้สินค้าและต่อการรับบริการ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อที่จะให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าและรับบริการ
2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อที่จะให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการบริโภคสินค้าและรับบริการ
- หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีหลายแบบและกระจายออกไปตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. ในกรณีที่ประชาชนได้รับความเสียหายจาก อาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สังกัดของกระทรวงสาธารณาสุข ที่จะต้องเข้ามาดูแลประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย
2. ในกรณีที่ประชาชนมีความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาดูแล
3. ในกรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น จัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็น หน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ที่จะเข้ามาให้ความดูแล
4. ในกรณีที่ประชาชนมีความเดือดร้อนเกี่ยวกับด้านคุณภาพ หรือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่เป็นธรรม เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เข้ามาดูแลกำกับ
5. ในกรณีที่ประชาชนได้มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับ ประกันชีวิต หรือ ด้านประกันภัย เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลประชาชน
นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อสินค้าหรือเข้ารับบริการ เช่น ตรวจสอบฉลาก
2) การเข้าทำสัญญาตามกฎหมาย โดยการลงลายมือชื่อ ต้องตรวจสอบความถูกต้องและชัดเจนในสัญญา อย่างละเอียด
3) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานเอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการที่จะสามารถกลับมาเรียกร้องค่าเสียหาย กรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นแก่ตน
4) เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิของตน ผู้บริโภคควรทำการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง[2]
วิธีการคุ้มครองผู้บริโภค
ตามหลักทั่วไป ในมาตรา 21 บัญญัติว่า ในกรณีที่ว่าด้วยการใดกฎหมายบัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ้ำหรือขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว เว้นแต่
1.ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคโดยการส่วนรวม หากว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว มิได้มีการดำเนินการหรือดำเนินการยังไม่ครบขั้นตอนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และยังมิได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งตามความในหมวดนี้
2. ในกรณีตาม ข้อ 1 ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจปล่อย ให้เนิ่นช้าต่อไปได้ ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งตามความในหมวดนี้ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งหรือรอให้ครบกำหนด 90 วัน ตามเงื่อนไขใน ข้อ 1[3]
หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย
เมื่ออมีกฎหมายฉบับใดได้ให้อำนาจกระทำการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้ว ต้องมีการบังคับตามกฎหมายฉบับนั้นด้วย เช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิในเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ในการขอรับการคุ้มครองเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีกฎหมายใด หรือ หน่วยงานใดระบุว่าให้ความคุ้มครองเป็นการเฉพาะแล้วจึงต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในด้านสินค้าและบริการทั่วไป
เมื่อผู้บริโภคโดนละเมิดสิทธิ หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบกิจการธุรกิจเพราะเหตุจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้นั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสามารถทำการร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำจังหวัด หรือจากหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น และเมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนแล้ว จะเรียกให้คู่กรณีมาเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาท และ ชดใช้ค่าเสียหายได้ ซึ่งหากไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ทางคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522จะ เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเอาค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภค ผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการดำเนินคดี[4]
....................................................................................
[1]ศ.ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
[2] http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1751-00/
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
[3] พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
ไพโรจน์ อาจรักษา,คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2543.
รักษวร ใจสะอาด.2549 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Law).
[4] ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/ และ http://www.ocpb.go.th/
อยากขอคำแนะนำค่ะ ปั๊มเติมน้ามันผิดให้ ยื่นแจ้งความเสียหาย ปั้ม /ประกัน (ให้เราสำรองจ่าย)แล้วส่งเรื่องเข้า บริษัทPT แต่ข้อสรุปล่าช้า เพิกเฉย นานมาก กินเวลาไป30วัน ไม่มีคำตอบ
ตอบลบพอจี้เข้าไป ยอกรอผู้ใกญ่เซ็น ขอเลื่อนระยะเวลาการจ่ายออกไปอีก15วัน หรือ1ด.
จนหมด ความอดทนกับการรอคอย และการดูแลรับผิดชอบที่แย่มากๆ
จะต้องทำยังงัยดีค่ะ...ยอดค่าซ่อมรถ 30000กว่า
เรียกร้องค่าเสียหาย+ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถทั้งหมดจากปั้มน้ำมันรวมดอกเบี้ย
ลบเช่น ค่าซ่อม 30,000 บาท เราไม่ได้ใช้รถกี่วัน เช่นซ่อม 10 วัน ขาดรายได้ วันล่ะ 1000 บาท เท่ากับ 10,000 บาท รวมค่าซ่อม เป็น 40,000 บาท หรือมีการเช่ารถหรือไม่ระหว่างซ่อมคิดตามค่าเช่า ขาดรายได้วันล่ะเท่าไหล่ เรียกร้องจนกว่า จะซ่อมรถเสร็จ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอสอบถามครับ พอดีผมไปค้ำประรถยนต์ให้เพื่อนนะครับแล้วรถที่ชื้อมาไช้ใด้ไม่ถึงปี แล้วรถมีปัญหาจึงใด้นำส่งคือไฟแน่น และบริษทไฟแน่นฟ้องต่อศาล ให้มาหักเงินเดือนผมหลือของคนค้ำ ในลักณะแบบนี้ผมต้องทำยังไงครับ ผมต้องรับผิดด้วยหลอครับ รถก็คืน งวดไม่ใด้ค้าง
ตอบลบแล้วทางบังคับคดีส่งหนังสือมาให้ทางบริษทอายัดเงินของผมครับ มีทางออกยังไงครับ
ผมโดนฟ้ิงเรื่องค้ำรถเขาจะหักเงินพอจะมีทางออกไกมครับ
ตอบลบหน่วยงานใดตรากฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
ตอบลบซื้อรถมือ2มาไม่ถึงอาทิตย์(ผ่อน)ไฟเลี้ยวใช้ไม่ได้ ตัวล้อคประตูใช้ไม่ท้าย ท่อรถไม่มี ตัวปั้มน้ำที่กระจกไม่ทำงาน ไฟเบอร์ภายในตรงประตูก็จะหลุด.ลำโพงใช้ไม่ได้ กระจกข้างปลับไม่ได้.หนูทำไงได้บ้างค่ะ.ซื้อมายอดจัด125.000บาท.ผ่อน 48งวด.รวมๆ190.000เศษๆ.แต่สภาพรถเหมือนไม่ได้ผ่านการตรวจสภาพเลยอ่ะค่ะ.ช่วยกรุณาตอบหนูที..หนูอยากยกเลิกสัญญามากเลย.เพราะต้องซ่อมเยอะมาก.พอจะมีวิธีไหนช่วยหนูได้บ้างค่ะ.
ตอบลบได้นำรถำไปเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ออโต้สองเดือนกว่าแล้วยังไม่ได้ทำอะไรเลย รถคันอื่นๆมาทีหลังซ่อมเสร็จไปหลายคัน ครั้นไปถามอุปกรณ์ครบแล้วแต่ก็ยังไม่ทำให้สักที มีรู้สึวา่ไม่ได้รับความธรรม แถมจ่ายค่าซ่อมเปลี่ยนเกียร์ไป10,000 บาทแล้ว
ตอบลบอยากขอคำแนะนำค่ะ พอดีลงตู้เติมเงินจะคืนตู้แต่บริษัทบอกไม่มีนโยบายคืนตู้ ขอนี้หนูไม่ทราบกับเรียกเก็บค่าเสียหาย13000บาทเพราะตอนลงตู้เชลล์ติดตั้งไม่ได้บอกบอกแค่ว่าถ้าไม่พอใจไม่ได้กำไรหรือขาดทุนคืนตู้ได้ เราก็เลยจะคืนเราปิดระบบไปนานแล้วแต่ยังมีข้อความมาให้ไปจ่ายทุกเดือนเราจะทำยังไงค่ะ ข้อคำปรึกษาด้วยค่ะ ตั้งแต่คืนตู่ไปไม่มีเจ้าหน้าที่หรืแใครมาหามีแต่หนังสือแล้วเรียกเก็บเงินค่าเสียเวลาอย่างเดียวครั้งละ200 แบบนี้เราก็มีแต่เสียกับเสีย
ตอบลบหนูซื้อเท็บเล็ตมากับมาที่บ้านเปิดดูในกล่องปรากฏว่าหน้าจอมันเป็นรอยตอนซื้อจากทางร้านเค้าไม่ให้เรามีโอกาสได้ตรวจเช็คสภาพเลยและคือเราก็ไว้ใจเค้าทางร้านคงไม่น่าทำอย่างนั้น เลยไม่ทักอะไรคงเป็นที่ซื้อก่อนหน้านี้
ตอบลบแล้วอย่างงี้หนูจะขอเงินคืนได้ไหมค่ะหนูเพิ่งซื้อมาวันเดียวเองช่วยตอบหน่อยค่ะ
ลูกสาวชื้อโทรศัพท์OPPO A83 ที่ร้านค้าย่อยในBig c ค่ะหลังจาก1เดือนทางโดนล๊อคเครื่องโดยเครือข่ายแต่ที่ข้อง คือซื้อเงินสดค่ะไม่ได้ผ่อน ทางร้านแก้ไขให้ไไม่ได้ จึงอยากขอคำแนะนำค่ะขอบคุณค่ะ
ตอบลบซื้อNote book มา มีปัญหาใช้งาน ประกันเคื่องแก้ปัญหาตลอด ตั้งแต่ซิ้อมา แต่บริษัทไม่เปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ ต้องทำอย่างไรดี
ตอบลบรบกวนสอบถามค่ะ ได้ซื้อนาฬิกาดิจิตอลมาตอนก่อนซื้อได้ถามกับทางร้านที่ขายว่ามีเมนูภาษาอังกฤษรึเปล่า ทางร้านยืนยันว่ามี และสามารถโทรออกได้แต่พอได้รับของมาแล้วปรากฏว่าไม่เป็นเหมือนที่ตกลงไว้ ติดต่อกลับไปทางร้านก็เหมือนจะไม่รับผิดชอบทั้งๆที่ของมีประกัน6เดือนแต่เพิ่งซื้อมาได้หนึ่งวัน ของไม่ตรงตามสเปคและไม่แสดงความรับผิดชอบ รบกวนช่วยให้คำแนะนำทีค่ะ
ตอบลบซื้อรองเท้าบูท. ออนไลน์ค่ะ. โฆษณาว่า ใส่เดินบนหิมะได้. แต่พอได้รับสินค้า. รองเท้ามีดอกยางนิดเดียว. เดินบนหิมะ ที่จับตัว เป็นน้ำแข็งไม่ได้. เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบลบคือผ่อนสินค้ากับบริษัทหนึ่งอะค่ะ แล้วยังไม่อยู่บ้านเลยยังไม่ได้จ่ายแล้วพอเวลาผ่านไป2-3 วันเซลล์ก็ส่งข้อความมาต่อว่าในคำพูดที่ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก พอโทรไปถามก็โวยวายใส่อีกอ้ะค่ะ พอเซลล์มาที่บ้านกำลังจะเอาเงินออกไปให้แต่เซลล์ก็มาถามว่า "มึงจะจ่ายหรือไม่จ่าย"
ตอบลบแบบนี้แล้วก็โวยวายใส่จนเด็กร้องไห้ก็ไม่หยุด(เซลล์เป็นผู้ชาย)แล้วตอนออกไปก็บอกทิ้งท้ายไว้ว่า "เดี๋ยวพวกมึงรอกูก่อน"ทุกคนที่บ้านก็ตกใจมากแล้วก็กลัวว่าเซลล์จะมาทำร้าย แบบนี้ผิดกฎหมายไหมคะ
ซื้อของหมดอายุจากร้านค้าแถวบ้าน
ตอบลบเอาเรื่องเจ้าของร้านได้ไหมค่ะ
ซื้อของออนไลน์ได้ของไม่ครบ ต้องไปที่ใดคะ
ตอบลบทำประกันผูกกับบัตรกรุงศรีเฟิสช้อยคะต้องการยกเลิกเพราะค่าใช้จ่ายสูงเกินแต่โทรไปยกเลิกกับประกันพนักงานก็จะตัดสายช่วงที่เราให้ข้อมูลคะแบบนี้ผิดกฏหมายไหมคะแล้วเราต้องทำไงคะ(บัตรแฟนคะ) เคลียดมาก
ตอบลบขอถามหน่อยค่ะ ซื้อคอมพิวเตอร์มาพอกลับถึงบ้านกบว่าคอมพิวเตอร์หน้าจอมีรอยแตกร้าวทางร้านต้องรับผิดชอบยังไงบ้างคะ
ตอบลบขอสอบถามเกี่ยวกับธุรกิจร้านซักอบรีด กรณีที่ทางร้านทำเสื้อผ้าลูกค้าเสียหาย.การชดใช้ให้ลูกค้าเท่าไรค่ะ มีข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างไรค่ะ. หรือเราสามารถเข้าไปดูข้อกฎหมายที่ไหนได้ค่ะ
ตอบลบขอบคุณมาก
ขอสอบถามหน่อยครับกรณีเช่าห้องแล้วเจ้าของห้องเช่าเก็บค่าไฟเกินจริงคิดหน่วยละ10บาทคือว่ามันเยอะเกินไปครับที่อื่นเขาแค่5-6บาทต่อหน่วยต้องทำยังไงครับ
ตอบลบถ้าลูกค้าำปซื้อเบเกอร์รี่ในรร.เกิดอุบัติเหตุ ตกบันได ในรร.5ดาวในกทม.ถึงขั้นผ่าตัด แต่ทางงรร.ไม่ยอมชดใช้เต็มจำนวนที่ รพ.เก็บ ขอต่อรอง แต่ทางลูกค้าไม่ยอม ต้องทำอย่างไรคะ
ตอบลบสวัสดีค่ะผู้รู้ ขอสอบถามหน่อยค่ะ พอดีเล่นเกมกล่องสุ่มในไลฟ์สดเพจ เพจนึง โดยเขาให้เราโอนเงิน 990 บาท เขาบอกว่าจะได้รับรองเท้าแบรนด์ไนกี้แท้ หรือลุ้นทองในกล่องรองเท้า และไอโฟน11 แต่นี้ได้รองเท้าไนกี้แบบก็อปเหมือนตลาดนัดทั่วไปขาย เราสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้มั้ยค่ะ
ตอบลบสอบถามครับ สินค้าที่ระบุว่ารับประกันภายใน7วัน แต่สินค้าพังหลังจาก7วันแต่ไม่ถึงเดือนสินค้าพัง โดยการใช้งานปกติ แบบนี้ทางผู้ขายสามารถปัดความรับผิดชอบได้ไหมครับ
ตอบลบ